章節 1 ประเภทตัวชี้วัดการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการเปรียบเทียบ
Technical Analysis ( การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ) คือ การวิเคราะห์กราฟ เพื่อที่จะคาดการณ์การเคลื่อนไหวทิศทางของราคาในอนาคต โดยจะอาศัยข้อมูลจากการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตที่ผ่านมา และยังสามารถกำหนดช่วงเวลาที่เราต้องการวิเคราะห์ได้ เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนหาจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม โดยข้อมูลหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่ ระดับราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น โดยอาจจะนำตัวชี้วัดอินดิเคเตอร์ (Indicator) ต่างๆ เข้ามาผสมผสาน เพื่อช่วยในการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานักวิเคราะห์หลายคนได้พัฒนาอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตให้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวชี้วัดอินดิเคเตอร์ (Indicator)ที่ใช้ในวิเคราะห์ทางเทคนิค เราแบ่งตามประเภทการส่งสัญญาณ ได้ 2 ลักษณะคือ Leading Indicator และ Lagging indicators
1. Leading Indicator
หรือดัชนีชี้วัดนำ คือปัจจัยที่บ่งชี้สภาวะตลาดล่วงหน้า ซึ่งจะให้สัญญาณก่อนที่จะเกิดเทรนใหม่หรือก่อนที่ราคาจะมีการกลับตัว แต่การวิเคราะห์จาก Leading Indicator บ่อยครั้งที่เทรดเดอร์อาจจะเจอกับสัญญาณหลอกจนทำให้เทรดผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์จากดัชนีชี้วัดนำนี้จึงมีความเสี่ยงอยู่นั่นเอง
2. Lagging Indicators
หรือดัชนีชี้วัดตาม คือ ปัจจัยที่บ่งชี้สภาวะย้อนหลัง โดยจะเป็นตัวให้สัญญาณ หลังจากที่เทรนใหม่เกิดขึ้นแล้วหรือหลังจากที่ราคามีการกลับตัวแล้ว ซึ่งจะใช้สำหรับดูข้อมูลย้อนหลังเพื่อประกอบการตัดสินใจ การวิเคราะห์จาก Leading Indicator นั้น จะไม่มีการส่งสัญญาณหลอก เพราะดัชนีวัดตามนี้จะส่งสัญญาณก็ต่อเมื่อมีการกลับตัวของราคาให้เห็นว่าเริ่มมีการเปลี่ยนเทรนอย่างชัดเจน
ตัวชี้วัดอินดิเคเตอร์หรือ Indicator คือตัวบ่งชี้แนวโน้มของโอกาสการเกิดขึ้นของราคาในอนาคตว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งในปัจจุบันดัชนีชี้วัดมีให้เลือกใช้กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะสามารถแบ่ง
檢舉