บทที่ 2 ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญในการวิเคราะห์พื้นฐาน
ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเป็นสถิติสำคัญที่แสดงทิศทางของเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาฟอเร็กซ์ดังนั้นจึงได้รับความนิยมในมาใช้ในการทำการวิเคราะห์ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อขายฟอเร็กซ์สามารถตัดสินใจซื้อขายได้ เนื่องจากตัวชี้วัดเหล่านี้บ่งบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งสามารถสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก่อน โดยตัวเลขดัชนีเหล่านี้จะบ่งบอกถึงความมั่งคั่งโดยรวมของคนในประเทศ ดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประกอบด้วย
1. อัตราดอกเบี้ย
ถือเป็นอินดิเคเตอร์หรือตัวบ่งชี้สำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเลยก็ว่าได้ โดยปกติแล้วธนาคารกลางจะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นและให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ จึงทำให้ต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสม เช่นการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะนำไปสู่การลดลงของอัตราเงินเฟ้อและสกุลเงินจะแข็งค่าในขณะที่การลดอัตราจะทำให้เกิดสิ่งที่ตรงข้ามนั่นเอง การลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและนำไปสู่ความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจนั่นเอง
2. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate)
เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการวัดอัตราเงินเฟ้อนั้นสามารถวัดได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการในแต่ละงวด หมายความว่าช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แสดงว่าราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีการปรับตัวสูงขึ้นและช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อลดลง แสดงว่าราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีการปรับตัวลดลงนั่นเอง
3. อัตราการจ้างงาน (Unemployment Rate)
ระดับการจ้างงานจะกระทบต่อค่าเงินโดยตรง เนื่องจากตัวเลขที่แสดงอัตราร้อยละของผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจเทียบกับกําลังแรงงานรวม สามารถบ่งบอกสภาพเศรษฐกิจโดยรวมว่าเป็นไปในทิศทางที่กําลังขยายตัวหรือหดตัว กล่าวคือในช่วงที่เศรษฐกิจดีหรือเศรษฐกิจขยายตัวอัตราการว่างงานมักจะตํ่าเนื่องจากมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาหรือหดตัวอัตราการว่างงานมักจะสูงเนื่องจากบริษัทจะทําการลดจํานวนคนงานหรือไม่จ้างพนักงานเพิ่มเนื่องจากจะช่วยให้กิจการมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงก็จะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลงเช่นกัน
4. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI)
ย่อมาจาก Purchasing Managers’ Index
รายงาน