บทที่ 1  การเทรดมาร์จิ้นในตลาดฟอเร็กซ์ทำงานอย่างไร

เทรดมาร์จิ้น (Margin) คืออะไร? เงินทุนไม่เยอะก็เทรดได้ด้วยมาร์จิ้น

มาร์จิ้น (Margin) ในแง่ของการเทรด หมายถึง การลงทุนซื้อขายตราสารการเงินโดยมีโบรกเกอร์หรือผู้บริการทางการเงินเป็นผู้ให้สินเชื่อเงินลงทุนกับนักเทรดเจ้าของบัญชี อธิบายง่ายๆ คือ เทรดเดอร์สามารถลงทุนซื้อตราสารในปริมาณมากได้ แม้จะไม่มีเงินทุนจำนวนดังกล่าวอยู่จริงๆ ก็ตาม ทำให้เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์เทรดจำนวนมากได้ตามที่ต้องการนั่นเอง สรุปง่ายๆ ก็คือการเทรดมาร์จิ้นช่วยให้เทรดเดอร์ทำกำไรจากการเทรดที่มากขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนน้อย และต้องอาศัยการทำกำไรจากการเปิดหลายออเดอร์ แทนการเน้นทำกำไรมากๆ จากออเดอร์เทรดแค่ออเดอร์เดียว

โดยส่วนมาก มาร์จิ้นจะใช้สำหรับการเทรด Forex หรือลงทุนในตลาดค่าเงิน แต่ก็มีนัก

เทรดมืออาชีพจำนวนไม่น้อยที่ใช้มาร์จิ้นเพื่อยืมเงินจากโบรกเกอร์มาใช้ลงทุนเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity), หุ้น (Stock) และตราสารการเงินที่ได้รับความนิยมมากๆ ในปัจจุบันอย่างสกุลเงินดิจิตอล หรือ Cryptocurrency ที่ทุกท่านน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี

การอธิบายเรื่องบัญชีมาร์จิ้นอย่างละเอียด

มาร์จิ้น (Margin) คือ เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้เมื่อเปิด Order (สั่งซื้อขาย)  และจะคืนให้เมื่อปิด Order ในส่วนของ Margin จะเกี่ยวข้องกันกับ ค่า Leverage ที่ใช้ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอยกตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่าง Leverage 1:1  ถ้าต้องการเปิด Order 1 Lot เราต้องใช้เงิน 100,000 USD  เป็นเงินหลักประกัน (Margin) Margin = 100,000  USD

แต่ถ้าใช้ Leverage ที 1:100  จะทำให้ Margin จะลดลง 100 เท่า จากที่ต้องวางเงินหลักประกัน  100,000 USD  ก็จะเหลือเพียง 1,000 USD เท่านั้น Margin = 1,000 USD   

สูตรการคำนวณ Margin: Margin = ราคาในขณะที่เปิด x Lot x Contract size / Leverage

ความสามารถในการตั้งบัญชีมาร์จิ้นจะถูกนำเสนอโดยโบรกเกอร์ส่วนใหญ่และสามารถให้อำนาจในการซื้อจำนวนมากโดยไม่มีการลงทุนด้วยเงินสดใดๆ ในส่วนของผู้ค้า  เพื่อทำความเข้าใจว่าบัญชีมาร์จิ้นมีประโยชน์อย่างไรให้พิจารณานักลงทุนที่ซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ $50 (USD) ด้วยเหตุนี้ราคาตลาดของหุ้นจึงสูงถึง  $75   หากเขาจ่ายเงินสด ผลตอบแทนจากการลงทุนของเขาคือ 50% ซึ่งเป็นอัตราที่น่านับถือมากของการกลับมา อย่างไรก็ตามหากเขาจ่ายเงิน $25 เป็นเงินสดและ $25 ในเงินที่ยืมมาจากมาร์จิ้น ผลตอบแทนของเขาก็คือ 100%  เขายังคงต้องจ่ายคืนเงินที่เขายืมมาแต่จ่ายโดยการกระจายการกู้ยืมเงินของเขาไปในซื้อหลายครั้ง เขาจะเพิ่มผลกำไรของเขาตราบเท่าที่ราคาของหุ้นของเขาเพิ่มขึ้น

ข้อดี-ข้อเสียของการเทรดมาร์จิ้น

การเทรดมาร์จิ้นไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังเหมาะทั้งสำหรับนักเทรดมือใหม่และนักเทรดมืออาชีพอีกด้วย ทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการบริหารพอร์ตที่หลากหลาย และสร้างกำไรตอบแทนที่มากขึ้นได้จากการใช้มาร์จิ้นเทรด

อย่างไรก็ดี ถึงแม้การเทรดด้วยมาร์จิ้นจะมีประโยชน์ไม่น้อย แต่มันก็มีข้อเสียบางอย่างที่นักเทรดจะต้องระวัง

ข้อดี:

สร้างรายได้ที่มากขึ้น – ทำรายได้มากขึ้นจากการลงทุนที่มากขึ้นได้

เปิดออเดอร์เทรดมากยิ่งกว่าเดิม – เพิ่มโอกาสในการเปิดออเดอร์ได้หลายออเดอร์ แม้จะมีเงินลงทุนไม่เพียงพอก็ตาม

เพิ่มความยืดหยุ่นในการเทรด – หลังจากเปิดบัญชีมาร์จิ้นเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถเปิดออเดอร์เทรดได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยไม่ต้องคอยมานั่งฝากเงินเข้าบัญชีเพิ่มให้เสียเวลา

ข้อเสีย:

ขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน – ถึงแม้มาร์จิ้นจะช่วยให้ท่านเทรดกำไรได้มากขึ้นก็จริง แต่ก็มีโอกาสเทรดขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน และอย่าลืมว่าเงินทุนที่มีอยู่จริงในตอนแรกนั้นอาจน้อยกว่าจำนวนเงินขาดทุน โดยถึงแม้ราคาจะร่วงไม่มาก แต่ก็อาจส่งผลรุนแรงต่อการ

เทรดได้

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความเสี่ยง คือ การใช้ กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ออเดอร์ Stop limit และการเปลี่ยนไปลงทุนตราสารอื่นเพื่อลดความเสี่ยง

บทสรุปเกี่ยวกับการเทรดมาร์จิ้น

การเทรดมาร์จิ้นเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนที่ดีที่จะช่วยให้นักลงทุนสร้างกำไรที่เติบโตมากขึ้นได้ ทำให้ท่านสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดออเดอร์สร้างกำไรได้หลายออเดอร์ แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงในการเทรดอยู่เสมอ


การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง

เครื่องมือการเทรดทางการเงินมีความเสี่ยงสูง ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมด และอาจไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนทุกคน ความคิดเห็น การสนทนา ข้อความ ข่าวสาร การวิจัย การวิเคราะห์ ราคา หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มีอยู่บนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลการตลาดทั่วไปเพื่อการศึกษาและความบันเทิงเท่านั้น และไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน ความคิดเห็น ข้อมูลการตลาด คำแนะนำหรือเนื้อหาอื่น ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ Trading.live จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการใช้หรือพึ่งพาข้อมูลดังกล่าว

© 2024 Tradinglive Limited. All Rights Reserved.