Bab 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
Fundamental analysis (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) เป็นวิธีการวิเคราะห์ตลาด ทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของตลาดในปัจจุบันเพื่อคำนวณทิศทางราคาในอนาคต อาทิเช่น ภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอุตสาหกรรมที่มีผลต่อตลาดลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อสินทรัพย์ อุปสงค์/อุปทาน ในการเทรดสินทรัพย์ประเภทค่าเงินแบบ Fundamental Analysis จะเรียกกันว่า เทรดสายข่าว คือ จะวิเคราะห์ถึงข่าวต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สงคราม ทุก ๆ ข่าวที่เกิดขึ้น จะมีผลกระทบทั้งนั้น ไม่มากก็น้อย การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นวิธีการวิเคราะห์ตลาดการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเก็งกำไรในราคาตลาด ในด้าน Forex จะมุ่งเน้นไปที่ภาวะเศรษฐกิจ และตัวแปรอื่น ๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราการจ้างงานการค้าระหว่างประเทศ และอัตราการผลิตนั่นเอง
การเปรียบเทียบระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค
ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้ที่เราจะต้องนำมาประกอบกับการพิจารณาคือ
1. ความมั่นคงทางการเมืองและเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ค่อนข้างมีผลกระทบต่อค่าเงินค่อนข้างมาก เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือผู้นำประเทศ ซึ่งมักทำให้เกิดความผันผวนเพิ่มขึ้นในสกุลเงินของประเทศ เช่น หากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและอาจทำให้เกินความไม่แน่นอนทางการเมืองก็อาจจะนำไปสู่การลดลงของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ข้อคิดเห็นของนักการเมืองหลังการประชุมของฝ่ายบริหาร เรื่องที่ไม่คาดคิด เรื่องอื้อฉาว การคว่ำบาตรระหว่างประเทศ การเผชิญหน้าหรือการพบปะต่าง ๆ ตลอดจนผลการเจรจาของผู้นำประเทศ โดยเฉพาะหากในประเทศนั้นเกิดภาวการณ์จลาจล หรือว่าเกิดภาวะสงครามขึ้นมา สิ่งนี้ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงินไปในทิศทางที่ไม่ดี เป็นต้น
2. ปฏิทินเศรษฐกิจ ปฏิทินนี้
Laporan