Bab 2 ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index)
ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index) หรือ RSI เป็น indicators ประเภท momentum oscillator ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย Mr. Welles Wilder เป็น indicators ที่ใช้วัดความเร็วและขนาดการเคลื่อนไหวของราคาทิศทาง ช่วยกำหนดระดับ overbought/oversold ได้ตลอดจนให้ RSI โดยพื้นฐานคือเส้นเดียวที่ผันผวนในช่วงระหว่าง 0 และ 100 ยิ่งเส้นนี้เข้าใกล้จุดศูนย์มากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสสูงที่สินทรัพย์จะ Oversold เมื่อ RSI เข้าใกล้ 100 สินทรัพย์มีโอกาสจะเป็น Overbought ตามตัวชี้วัด ราคาสินทรัพย์สามารถถูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้เมื่ออยู่ในโซน oversold และลดลงในโซน overboughtสัญญาณซื้อและขาย
ประโยชน์และการใช้งานดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index)
1.บ่งชี้ถึงสภาวะที่มีการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ ขายมากเกินไป (Oversold)
Overbought (Tops) เมื่อราคาขยับขึ้นมากกว่าค่า 70 จะบ่งชี้ถึงสภาวะการซื้อมากเกินไป แต่การที่ RSI มีค่ามากกว่า 70 นั้น เป็นเพียงสัญญาณว่าอาจเกิดแรงเทขายออก ส่งผลให้ราคาลงมา แต่ไม่ได้บ่งชี้ว่าเทรดเดอร์ต้องรีบขายแต่อย่างใด
Oversold (Bottoms) เมื่อราคาขยับลงน้อยกว่าค่า 30 จะบ่งชี้ถึงสภาวะมีการขายมากเกินไป
การที่ RSI มีค่าต่ำกว่า 30 เป็นเพียงสัญญาณว่าอาจกลายมาเป็นแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาด ส่งผลให้ราคานั้นเด้งกลับขึ้นไป
การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาของ Relative Strength Index อาจเพิ่มหรือลดจำนวนสัญญาณซื้อและขาย ในแผนภูมิด้านล่างของทองคำ แสดงช่วงเวลา RSI สองช่วงคือ 14 วัน (ค่าเริ่มต้น) และ 5 วัน สังเกตว่าในตัวอย่างนี้ การลดช่วงเวลาทำให้ RSI มีความผันผวนมากขึ้น ทำให้จำนวนสัญญาณซื้อและขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก
Convergence
Laporan