Bab 6 ใครคือผู้เล่นหลักของฟอเร็กซ์
ถ้าจัดกลุ่มผู้เล่นหลักของฟอเร็กซ์อย่างง่ายๆ สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน แต่ละกลุ่มจะมีจุดประสงค์และกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน หากเราเข้าใจบทบาทของแต่ละกลุ่ม เราก็จะเข้าใจว่าอะไรที่เป็นตัวดันราคา และทำไมตลาดถึงตอบสนองกับข่าวและตัวเลขทางเศรษฐกิจประจำวันอยู่ตลอด กลุ่มทั้ง 5 คือ
– Market Makers
– Multinationals
– Speculators
– Central banks
– Retail traders
1. Market Makers – กลุ่มที่ทำให้เกิดตลาด
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวที่เป็นกลุ่ม “ไม่ใช่ลูกค้า” บทบาทของพวกนี้คือคอยสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดเพื่อให้เกิดการซื้อขาย เหมือนคนกลางที่รับซื้อ-ขาย อยู่ตลอดเวลา พวกนี้มีรายได้จ่ายส่วนต่างของราคารับซื้อมาและขายออกไป
โดยทั่วไปกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วย
ธนาคารขนาดใหญ่ -> Deutsche Bank (20%), UBS(12%) และ Citi Group(11%) 3 ธนาคารนี้รวมกันจะเป็นผู้เล่นรายมีพลังในการขับเคลื่อนตลาดอย่างมาก เพียงแค่ 3 ธนาคารนี้ ก็มีการไหวเวียนของเงินไปมาเกือบ 45% ของปริมาณเงินที่ซื้อขายกันในตลาดแล้ว
กลุ่มธนาคารข้ามชาติพวกนี้มีขนาดใหญ่มากพอที่จะสามารถบริหารข้อมูลธุรกรรมทางการเงินกว่าพันล้านดอลล่าของบริษัท์ข้ามชาติต่างๆ ได้ และมันก็ทำให้มีผลกับราคาค่าเงินในตลาดด้วย
ในช่วงปีหลัง ๆ มานี้ กลุ่มธนาคารได้เพิ่มบทบาทตัวเองนอกเหนือไปจากการบริหาร ธุรกรรมทางการเงิน คือ มีการเพิ่มแผนกการลงทุนของธนคารเองทั้งการเลือกลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของธนาคารเอง ดูแลบริหารเงินทุนลูกค้า รวมไปถึง เป็นโบรกเกอร์สำหรับให้ลูกค้าเปิดบัญชีไปเทรดเองด้วย
2. Multinationals – บรรษัทข้ามชาติ
กลุ่มนี้ถือเป็นของตายในตลาด Forex ที่ยังไงก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกันเป็นประจำอยู่แล้ว เพราะต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการทำธุรกิจในประเทศต่างๆ ที่ตัวเองไปมีสาขาอยู่ เป็นกลุ่มที่ถือว่าเข้ามาซื้อขายในตลาดด้วยความสมเหตุสมผล เพราะทำให้เกิดอะไรๆ เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ใช่กลุ่มที่เข้ามาซื้อขายเพียงแค่เกร็งกำไร หรือเรียกว่า “เงินร้อน” ที่วิ่งเข้าออกประเทศนั้น ประเทศนี้อยู่ตลอดเวลา
กิจกรรมของกลุ่มนี้ ได้แก่ การลงทุนธุรกิจ, จ่ายค่าสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นเงินสกุลอื่น, รับเงินค่าสินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศเป็นเงินสกุลตัวเอง, ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Future) เพื่อป้องกันความผันผวนของค่าเงิน สำหรับการซื้อขายปริมาณมากๆ, รวมไปถึงการควบรวมหรือซื้อขายกิจการในต่างประเทศ
ของบรรษัทข้ามชาติสามารถบริหารการเงินได้ดีจะประหยัดเงินหรือทำกำไรให้บริษัทได้มากเป็นล้านดอลล่าต่อปี ด้วยการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าว่าจะซื้อขายกันด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน
ทั่วๆ ไปแล้ว บรรษัทข้ามชาติพวกนี้จะ play safe คือ ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน พวกเขาจะเกร็งกำไรน้อยมาก พวกเขาต้องการความแน่นอน เพื่อให้ง่ายสำหรับการบริหาร่งาน จึงชอบตกลงซื้อขายกันล่วงหน้าที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่มากกว่า
3. Speculators – กลุ่มนักเกร็งกำไรขาใหญ่
แน่นอน จุดประสงค์หลักของกลุ่มนี้คือเข้ามาทำกำไรจากความผันผวนของตลาด ไม่เน้นถือยาว เข้ามาพนัน คาดการณ์ทิศทางแล้วก็ไป
ตัวใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้คือ ธนาคาร ซึ่งเทรดด้วยทรัพสินย์ของธนาคารเอง, hedge funds, ผู้แนะนำการลงทุน, ผู้จัดการเงินทุนต่างๆ
กลุ่มนี้ชอบที่จะเสี่ยงเพื่อแลกกับโอกาสทำกำไรงามๆ เทรดด้วย volume มากๆ สนุกกับการใช้ leverage เยอะๆ เพื่อที่จำมีโอกาสทำกำไรมากๆ… ในทางกลับกันก็ขาดทุนได้มากเหมือนกัน — กลุ่มนี้เองที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในระหว่างวันอยู่ตลอดเวลา
4. Central Banks – ธนาคารกลาง
แต่ละประเทศจะมีธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ เพื่อควบคุมและดูแลด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยหลักๆ แล้ว กลุ่มธนาคารกลางนี้จะไม่ชอบเห็นสกุลเงินของตัวเองถูกเกร็งกำไร เพราะทำให้ค่าเงินเกิดความผันผวนมาก ผลก็คือ จะมีการออกข้อห้ามต่างๆ ไม่ก็แทรกแซงค่าเงิน เพื่อลดความผันผวนลง
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ถือเป็นตัวอย่างของการแทรกแซงได้ดี เมื่อไหร่ที่เงินเยนญี่ปุ่น มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะไปส่งผลเสียกับการส่งออกของประเทศ ของที่ขายให้กับต่างชาติจะถูกมองว่าแพงขึ้น และธนาคารกลางสวิชเซอร์แลนด์ (SNB) ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการแทรกแซงค่าเงินตัวเองบ่อยเหมือนกัน
5. Retail Traders – เทรดเดอร์รายย่อย
กลุ่มนี้ก็คือ คุณกับดิฉัน เป็นกลุ่มนักเก็งกำไรรายย่อย เข้าๆ ออกๆ ตลาดบ่อย ไม่สนใจที่จะถือยาวมาก เทรดเดอร์อย่างเราๆ เป็นส่วนที่เล็กที่สุดในตลาด ไม่มีผลอะไรกับตลาด จะมียกเว้นหน่อยก็ จอช โซรอส นั้นแหละครับ ที่หน้าตักใหญ่มากๆ ระดับหมื่นล้านเหรียญ…
ไว้จะมาขยายความแต่ละกลุ่มอีกทีนะครับ อันนี้ก็รู้คร่าวๆ ก่อนว่า เรากำลังเทรดกับใครบ้างในตลาด Forex อันซับซ้อนซ่อนเงื่อนนี้