Chapter 3 วิธีการตั้ง Stop Loss อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการใช้ stop loss หรือ การตั้งจุดหยุดขาดทุน ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนการเทรดที่สำคัญมากๆ ขั้นตอนหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการการตั้งจุดตัดขาดทุนจะช่วยบ่งบอกอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงได้นั่นเอง โดยจะมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 4 วิธี ดังนี้
1. Percentage Stop Loss
การหยุดขาดทุนตามต้นทุน กำหนดตำแหน่ง stop-loss อ้างอิงตามจำนวนของเงินทุนที่คุณต้องการเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา โดยคำนวนจากต้นทุนที่เข้าซื้อ ส่วนใหญ่นิยมตั้งให้เป็น Percentage วิธีการก็คือนำ % Stop Loss ที่ตั้งไว้ มาคูณกับราคาที่เราซื้อ ซึ่งสามารถกำหนดออกมาเป็น pips ได้ทั้งสองแบบ เช่น กำหนดจุดขาดทุนไว้ที่ 5% ของเงินทุนทั้งหมด หรือกำหนดจุด Stop Loss ไว้ที่ 50 Pip การตั้ง % ตัดขาดทุนนั้นเป็นค่าที่ไม่ตายตัว แต่เป็นการตั้งตามสัดส่วนของเงินลงทุน ไม่ได้ตั้งจุดขาดทุนตามตลาด และก็เป็นการตัดขาดทุนที่ไม่สนใจแนวโน้มและภาพรวมของกราฟ แต่เป็นการกำหนดตามความพึงพอใจของเรา ว่าจะยอมขาดทุนเท่าไร เราก็จะตัดขาดทุนเมื่อราคาลงมาถึงเปอร์เซ็นต์การขาดทุนที่ตั้งใจไว้ว่าเราพร้อมจะยอมเสียเงินจำนวนนี้ไป
2. Chart Stop
Chart Stop คือการตั้ง Stop Loss ที่นักลงทุนสาย Technical นิยมใช้ การตั้ง Stop Loss ชนิดนี้จะพิจารณาจากกราฟราคาหุ้น โดยแนวทางการใช้กราฟในการหาจุด Stop Loss สามารถแยกย่อยได้หลากหลายวิธี และวิธีที่นักลงทุนคุ้นเคยกันดี ก็คือ การใช้แนวรับ (Support Level) เป็นจุดที่ใช้ตั้งจุดตัดขาดทุน แนวรับในกราฟราคานี้อาจจะกำหนดจากจุดที่ราคามีการย่ำฐานหลายครั้ง จนเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นจุดที่ราคามักจะกลับทิศทาง ราคาหลุดแนวรับเมื่อไรก็สามารถตั้งจุด Stop Loss ได้ทันที ส่วนการใช้เส้นค่าเฉลี่ย moving average ราคาหลุดเส้น MA เมื่อไรก็ Stop Loss ได้ทันที แถมยังใช้เป็นสัญญาณเข้าซื้อได้อีกด้วย และการใช้เส้น เทรนไลน์ trend line ตีกรอบราคาไว้จาก ราคาหุ้นต่ำสุดในแต่ละช่วงเวลา หลุดแน
Report