Chapter 1 ประเภทของโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง
โบรกเกอร์ฟอร์เร็กซ์ คือบริษัทนายหน้า เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ รับ – ส่ง คำสั่ง(ออเดอร์)ของเราเข้าสู่ตลาด Forex ปัจจุบันจะเก็นว่าโบรกเกอร์ฟอร์เร็กซ์นั้น มีมากมาย ถ้าจะนับจำนวนทั้งหมด ล่าสุดมีมากกว่า 2,000 โบรกเกอร์ เลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะมากล่าวถึงประเภทของโบรกเกอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. Dealing Desk (DD) บางทีก็เรียกว่า Market Maker หรือ B Book คือโบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของ โบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา
2. No Dealing Desk (NDD) หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า A Book คือ โบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งซื้อ – ขาย ของลูกค้าไปยังพื้นที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ได้ผ่าน server หลักของโบรกเกอร์ แยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ
STP (Straight Through Processing) คือ การประมวลผลโดยตรง
ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing คือ การประมวลผลโดยตรง+ระบบออโต้ที่เก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน
Market Maker คืออะไร?
โบรกเกอร์รูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า Market Maker หมายถึง ผู้ที่เข้าไปช่วยให้ราคาเคลื่อนไหว อยู่ในกรอบที่มีความสมเหตุสมผล ซึ่งไม่ใช่การปั่นราคา ที่เกิดจากพวกนักปั่นหุ้นด้วยกันเอง และช่วยให้ตลาดมีความครึกครื้น มีสภาพคล่องมากขึ้น ราคามีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ
เป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ได้ใช้ราคาจริงในตลาดกลาง แต่ราคาที่แสดง เป็นราคาที่โบรกเกอร์ (Broker) สร้างขึ้น และโบรกเกอร์ (Broker) ได้รวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ส่วนกลาง โดยมีพนักงานดูแลข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งทุกคำสั่งซื้อ จะไม่ใช่คำสั่ง ที่ไปยังส่วนกลางโดยตรง และราคาที่เห็นเป็นราคาที่โบรกเกอร์ (Broker) กำหนดเอง ไม่ใช่ราคาจริง
หน้าที่ของ Market Maker
เพื่อนๆ หลายคน คงจะสงสัยกันว่า MarketMaker forex มีหน้าที่ทำอะไรในตลาด Forex ทำไมจึงต้องมีโบรกเกอร์ แบบนี้ด้วย เราจึงได้รวบรวมข้อมูล มาให้ทุกคนได้ศึกษา และเข้าใจตรงกัน ดังนี้
1. ทำให้เกิดการซื้อ – ขาย ในตลาด
คือ การทำให้ราคาของสกุลเงินนั้น ๆ ในตลาด เกิดการแกว่งตัว มีความแปรผัน ย่อมทำให้กราฟราคามีทิศทางที่เปลี่ยนไป อาจเป็นได้ทั้งขึ้นและลง ทำให้นักเทรด (Trader) รายย่อยมองเห็นถึง มูลค่าสกุลเงิน
จนเกิดการตัดสินใจ ทำการซื้อ – ขาย หรือเทรด Forex ในสกุลเงินนั้น ๆ ไม่เช่นนั้น การซื้อ – ขาย ในตลาด ก็จะเงียบ ไม่มีผู้ใดเข้ามาซื้อ – ขาย หรือทำกำไรกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เกิดการซื้อ – ขาย ได้ดีมาก ๆ อีกวิธีหนึ่ง
2. ทำให้เกิดสภาพคล่องในตลาด
คือ ปกติจะมีช่วงเวลาที่ตลาดเงียบ ไม่มีการซื้อ – ขาย Market Maker ก็จะทำหน้าที่เข้าไปทำการซื้อ – ขาย เพื่อให้เกิด Volume ภายในตลาด และในที่สุด ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการซื้อ – ขายขึ้น ในตลาด Forex
นักเทรด (Trader) บางท่าน อาจจะมองว่า การทำแบบนี้คล้ายกับการปั่นหุ้นหรือไม่ ? แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ เรื่องของเจตนาของโบรกเกอร์ (Broker) เมื่อในตลาด มีการซื้อ – ขาย เกิดขึ้น ก็จะทำให้ตลาดนั้นเกิดสภาพคล่อง นักเทรด (Trader) สามารถหาจังหวะในการเข้ามาทำกำไรได้ นั่นเอง
โบรกเกอร์ ECN/STP คืออะไร?
ความหมายของ โบรกเกอร์ ECN/STP คือ โบรกเกอร์ที่เมื่อคุณเปิดบัญชีและทำคำสั่งซื้อ หรือขายแล้ว ระบบจะไม่มีการเก็บข้อมูลเข้ามาที่โบรกเกอร์ก่อนส่งคำสั่งออกไปยังส่วนกลาง คือระบบของโปรแกรมเทรด ทำให้คำสั่งซื้อสามารถแมทต์กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดอาการรีโควต โดยโบรกเกอร์ ECN/STP มักจะถูกเปิดโดยนักเทรด forex แบบมืออาชีพแล้ว
ใครควรใช้โบรกเกอร์ ECN/STP
1. คนที่มีประสบการณ์ในการเทรดมากๆ หรือเป็นมืออาชีพแล้ว เพราะว่าการเทรดแบบนี้นั้นจะมีผลมากหากเป็นการเทรดด้วยมืออาชีพ และมีความเชี่ยวชาญในการอ่านและการใช้เครื่องมือหมดแล้ว
2. คนที่มีทุนค่อนข้างสูง อย่างน้อยก็ควรมีอยู่ที่ประมาณ 500 เหรียญขึ้นไป (ซึ่งปกติแล้วโบรกเกอร์ ECN/STP มักจะมีการบังคับที่ยอดจำนวนเท่านี้อยู่แล้ว)
ประโยชน์ของการเลือกโบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD)
1. ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ข้อแรกของการใช้ No Dealing Desks (NDD) คือ เราสามารถทำคำสั่งซื้อหรือขายไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเร็วตรงนี้มีผลโดยตรงต่อการเทรด forex เพราะยิ่งถ้าเป็นช่วงที่ตลาดมีการแกว่งตัวแรงๆ ถ้าเราสามารถเข้าไปเทรดได้ทัน นั่นหมายความว่าเราสามารถทำเงินและทำกำไรได้เร็วกว่ามากกว่า หรือรีบตัดการขาดทุนได้เร็วกว่าโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่ No Dealing Desks (NDD)
2. ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง
ข้อนี้จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เรานั้นสามารถเลือกกลยุทธ์ในการทำการตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากราคาที่มีความใกล้เคียงกับราคาจริงมากๆนั่นเอง ถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่เป็นแบบ NDD แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถทำลักษณะแบบนี้ได้
3. ค่าเสปรดมีการแกว่งตัวหลายแบบ
ข้อดีต่อมาคือเรื่องของค่า สเปรดที่มีการแกว่งตัวหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะ และช่วงเวลาของการเทรด หลักการง่ายๆคือ ถ้าช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้าทำการเทรด forex ในคู่เงินนั้นน้อยๆ ก็จะทำให้ค่าตัวนี้มีราคาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ก็จะทำให้มีราคาต่ำเช่นกัน จึงสามารถประยุกต์ข้อมูลตรงนี้ในการวางแผนการเทรดได้ อย่างเช่น การชิพไปเทรดในคู่เงินที่มีสเปรดต่ำๆครับ
โบรกเกอร์ที่เป็นแบบ No Dealing Desks (NDD) ได้แก่ IC Markets, Exness, XM, RoboForex, FBS, Pepperstone, Forex4you หมายเหตุ: ส่วนใหญ่โบรกเกอร์จะมีทั้ง 2 ประเภท โดยในบัญชีที่กำหนดยอดฝากขั้นต่ำสูงจะเป็น NDD ฝากขั้นต่ำน้อยเป็น DD