فصل 1  การเทรดมาร์จิ้นในตลาดฟอเร็กซ์ทำงานอย่างไร

เทรดมาร์จิ้น (Margin) คืออะไร? เงินทุนไม่เยอะก็เทรดได้ด้วยมาร์จิ้น

มาร์จิ้น (Margin) ในแง่ของการเทรด หมายถึง การลงทุนซื้อขายตราสารการเงินโดยมีโบรกเกอร์หรือผู้บริการทางการเงินเป็นผู้ให้สินเชื่อเงินลงทุนกับนักเทรดเจ้าของบัญชี อธิบายง่ายๆ คือ เทรดเดอร์สามารถลงทุนซื้อตราสารในปริมาณมากได้ แม้จะไม่มีเงินทุนจำนวนดังกล่าวอยู่จริงๆ ก็ตาม ทำให้เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์เทรดจำนวนมากได้ตามที่ต้องการนั่นเอง สรุปง่ายๆ ก็คือการเทรดมาร์จิ้นช่วยให้เทรดเดอร์ทำกำไรจากการเทรดที่มากขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนน้อย และต้องอาศัยการทำกำไรจากการเปิดหลายออเดอร์ แทนการเน้นทำกำไรมากๆ จากออเดอร์เทรดแค่ออเดอร์เดียว

โดยส่วนมาก มาร์จิ้นจะใช้สำหรับการเทรด Forex หรือลงทุนในตลาดค่าเงิน แต่ก็มีนัก

เทรดมืออาชีพจำนวนไม่น้อยที่ใช้มาร์จิ้นเพื่อยืมเงินจากโบรกเกอร์มาใช้ลงทุนเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity), หุ้น (Stock) และตราสารการเงินที่ได้รับความนิยมมากๆ ในปัจจุบันอย่างสกุลเงินดิจิตอล หรือ Cryptocurrency ที่ทุกท่านน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี

การอธิบายเรื่องบัญชีมาร์จิ้นอย่างละเอียด

มาร์จิ้น (Margin) คือ เงินหลักประกัน ที่ถูกหักไว้เมื่อเปิด Order (สั่งซื้อขาย)  และจะคืนให้เมื่อปิด Order ในส่วนของ Margin จะเกี่ยวข้องกันกับ ค่า Leverage ที่ใช้ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอยกตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่าง Leverage 1:1  ถ้าต้องการเปิด Order 1 Lot เราต้องใช้เงิน 100,000 USD  เป็นเงินหลักประกัน (Margin) Margin = 100,000  USD

แต่ถ้าใช้ Leverage ที 1:100  จะทำให้ Margin จะลดลง 100 เท่า จากที่ต้องวางเงินหลักประกัน  100,000 USD  ก็จะเหลือเพียง 1,000 USD เท่านั้น Margin = 1,000 USD   

สูตรการคำนวณ Margin: Margin = ราคาในขณะที่เปิด x Lot x Contract size / Leverage

ความสามารถในการตั้งบัญชีมาร์จิ้นจะถูกนำเสนอโดยโบรกเกอร์ส่วนใหญ่และสามารถให้อำนาจในการซื้อจำนวนมากโดยไม่มีการลงทุนด้วยเงินสดใดๆ ในส่วนของผู้ค้า  เพื่อทำความเข้าใจว่าบัญชีมาร์จิ้นมีประโยชน์อย่างไรให้พิจารณานักลงทุนที่ซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ $50 (USD) ด้วยเหตุนี้ราคาตลาดของหุ้นจึงสูงถึง  $75   หากเขาจ่ายเงินสด ผลตอบแทนจากการลงทุนของเขาคือ 50% ซึ่งเป็นอัตราที่น่านับถือมากของการกลับมา อย่างไรก็ตามหากเขาจ่ายเงิน $25 เป็นเงินสดและ $25 ในเงินที่ยืมมาจากมาร์จิ้น ผลตอบแทนของเขาก็คือ 100%  เขายังคงต้องจ่ายคืนเงินที่เขายืมมาแต่จ่ายโดยการกระจายการกู้ยืมเงินของเขาไปในซื้อหลายครั้ง เขาจะเพิ่มผลกำไรของเขาตราบเท่าที่ราคาของหุ้นของเขาเพิ่มขึ้น

ข้อดี-ข้อเสียของการเทรดมาร์จิ้น

การเทรดมาร์จิ้นไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังเหมาะทั้งสำหรับนักเทรดมือใหม่และนักเทรดมืออาชีพอีกด้วย ทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการบริหารพอร์ตที่หลากหลาย และสร้างกำไรตอบแทนที่มากขึ้นได้จากการใช้มาร์จิ้นเทรด

อย่างไรก็ดี ถึงแม้การเทรดด้วยมาร์จิ้นจะมีประโยชน์ไม่น้อย แต่มันก็มีข้อเสียบางอย่างที่นักเทรดจะต้องระวัง

ข้อดี:

สร้างรายได้ที่มากขึ้น – ทำรายได้มากขึ้นจากการลงทุนที่มากขึ้นได้

เปิดออเดอร์เทรดมากยิ่งกว่าเดิม – เพิ่มโอกาสในการเปิดออเดอร์ได้หลายออเดอร์ แม้จะมีเงินลงทุนไม่เพียงพอก็ตาม

เพิ่มความยืดหยุ่นในการเทรด – หลังจากเปิดบัญชีมาร์จิ้นเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถเปิดออเดอร์เทรดได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยไม่ต้องคอยมานั่งฝากเงินเข้าบัญชีเพิ่มให้เสียเวลา

ข้อเสีย:

ขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน – ถึงแม้มาร์จิ้นจะช่วยให้ท่านเทรดกำไรได้มากขึ้นก็จริง แต่ก็มีโอกาสเทรดขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน และอย่าลืมว่าเงินทุนที่มีอยู่จริงในตอนแรกนั้นอาจน้อยกว่าจำนวนเงินขาดทุน โดยถึงแม้ราคาจะร่วงไม่มาก แต่ก็อาจส่งผลรุนแรงต่อการ

เทรดได้

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการความเสี่ยง คือ การใช้ กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ออเดอร์ Stop limit และการเปลี่ยนไปลงทุนตราสารอื่นเพื่อลดความเสี่ยง

บทสรุปเกี่ยวกับการเทรดมาร์จิ้น

การเทรดมาร์จิ้นเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนที่ดีที่จะช่วยให้นักลงทุนสร้างกำไรที่เติบโตมากขึ้นได้ ทำให้ท่านสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดออเดอร์สร้างกำไรได้หลายออเดอร์ แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงในการเทรดอยู่เสมอ


App Store Android

البيان للإفصاح عن مخاطر

التداول في الأدوات المالية هو نشاط استثماري عالي المخاطر ينطوي على مخاطر خسارة بعض أو كل رأس المال المستثمر وقد لا يكون مناسبًا لجميع المستثمرين. يتم توفير أي آراء أو محادثات أو إخطارات أو أخبار أو استطلاعات بحثية أو تحليلات أو أسعار أو غيرها من المعلومات الواردة في هذا الموقع كمعلومات عامة عن السوق ، للأغراض التعليمية والترفيهية فقط ولا تشكل نصيحة استثمارية. قد تتغير جميع الآراء وظروف السوق والتوصيات أو أي محتوى آخر في أي وقت دون إشعار مسبق. Trading.live ليست مسؤولة عن أي خسارة أو ضرر ينشأ بشكل مباشر أو غير مباشر عن استخدام أو بناءً على هذه المعلومات.

© 2024 Tradinglive Limited. All Rights Reserved.